สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดบึงกาฬ
เกี่ยวกับเรา
ประวัติ
ตราสัญลักษณ์
โครงสร้างองค์กร
Main menu
Module BT Camera Slider - ID 90 : There is no image!
คุณอยู่ที่:
หน้าแรก
ภารกิจหน่วยงาน
กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมการจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
Login Form
จำการเข้าระบบ
ลืมรหัสผ่าน?
ลืมชื่อผู้ใช้?
ลูกจ้างควรรู้ เมื่อถูกเลิกจ้าง
ภารกิจหน่วยงาน
ภารกิจหน่วยงาน
Post on 22 มีนาคม 2560
by Bungkan
in
ภารกิจหน่วยงาน
ฮิต: 3028
ภารกิจหน่วยงาน
1.1 การบริหารกฎหมาย
1) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
2) พระราชบัญญัติรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
3) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2,3, 4)
4) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553
5) พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
6) และกฎกระทรวง ซึ่งออก ตามข้อ 1) – 5)
1.2 ขอบเขตผู้รับบริการ
นายจ้าง/ลูกจ้าง ทั้งภาคเอกชนรัฐวิสาหกิจ และแรงงานต่างด้าว
(รวมถึงแรงงานนอกระบบ อันได้แก่ งานเกษตรกรรม งานผู้รับงานไปทำที่บ้าน)
1.3 แนวทางการปฏิบัติตามภารกิจ
การตรวจแรงงาน การรับและวินิจฉัยคำร้องการส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การให้คำปรึกษา
การสร้างและพัฒนาเครือข่ายแรงงานและการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้รับความเป็นธรรม ดังนี้
1. ด้านคุ้มครองแรงงาน เช่นค่าจ้าง ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลา ค่าชดเชยสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า หลักประกันการทำงาน (เช่นเงินประกัน) การจ่ายเงินกองทุน สงเคราะห์ลูกจ้าง การยึดและอายัดทรัพย์ลูกหนี้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง การอนุญาตการใช้แรงงานเด็ก
2. ด้านความปลอดภัยในการทำงาน การดำเนินการเพื่อให้นายจ้างจัดสภาพการทำงานที่ปลอดภัย ปราศจากอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน เช่นการตรวจและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ในการทำงาน(เสียง ความร้อนแสงสว่างสารเคมี) การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) การจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงาน
(คปอ.) การอบรมดับเพลิงเบื้องต้นการฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟเป็นต้น
3. ด้านมาตรฐานแรงงาน ส่งเสริมและตรวจประเมินให้สถานประกอบกิจการได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย
(มรท. 8001 – 2553 ระดับพื้นฐาน และระดับสมบูรณ์)
4. ด้านแรงงานสัมพันธ์ การส่งเสริมให้นายจ้าง–ลูกจ้าง มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน รวมถึงการจดทะเบียนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน การจด ทะเบียนข้อบังคับองค์กรลูกจ้าง (เช่น สหภาพแรงงาน) การจดทะเบียนองค์กรนายจ้าง เช่น สมาคมนายจ้าง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน เป็นหน่วยดำเนินการเลือกตั้ง ผู้พิพากษา สมทบในศาลแรงงาน เป็นต้น
5. ด้านสวัสดิการแรงงาน กำกับและส่งเสริมให้นายจ้างจัดสวัสดิการให้กับลูกจ้างเช่นน้ำดื่มที่สะอาดห้องน้ำ – ห้องส้วม เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลพยาบาล
และแพทย์
ชุดทำงานรถรับส่งที่พักอาศัย สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการการให้บริการเงินกู้กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ (คสส.) การส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการร่วมโครงการโรงงานสีขาว (เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเสพการค้า การผลิตยาเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน)
กดติดตามเพจสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดบึงกาฬ